วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

                                                         จัดทำโดย

นางสาวปัทมา             ทองนอก          2571031441317
นางสาวรดาณัฐ            อ่อนนุ่ม           2571031441319
นางสาวอาริสา             พิมพ์สวัสดิ์       2571031441343

IFT 3206 : Management Information Systems
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
ภาคเรียนที่  1 / 2558







บริษัท RPA จำกัด
ที่มาของบริษัท
บริษัท RPA จำกัด ได้ก่อตั้งโดยนางรดาณัฐ  อ่อนนุ่ม  ในปี พศ.2534  เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภท นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์ ตรา RPAมิลล์ ซึ่งบริษัทฯได้วิจัย พัฒนา และคัดสรรวัตถุดิบที่ดี เพื่อนำมาผลิตสินค้า ที่มี จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัสสายพันธ์ดี CASEI ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และรสชาติสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยบริษัทมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด และหนุ่ม-สาวRPAทั่วประเทศ

แผนผังองค์กร

 วัตถุประสงค์องค์กร
เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต รูปแบบโฮมเมดที่มีคุณภาพ และความหลากหลายเทียบเท่าร้านโยเกิร์ตชั้นนำ และเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต 
วิสัยทัศน์ 
เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนมที่เน้นการใช้จุลินทรีย์แล็คโทบาซิลลัสในกลุ่มโพรไบโอติคส์เป็นหลัก เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดี รวมทั้งมุ่งพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อน ำ RPA ไปสู่ระดับสากล
พันธกิจ 
           -  ยึดมั่นในการผลิตสินค้าและคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้การควบคุมคุณภาพที่ เข้มงวดทุกขั้นตอน 
           -  วางแผนการบริหารและกำหนดกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในฐานะ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์และ โยเกิร์ตในประเทศไทย 
           -  ขยายธุรกิจสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียภายใต้สินค้าแบรนด์RPA
หน้าที่ ปัญหา และการแก้ปัญหาของแต่ละแผนก มีดังนี้
ฝ่ายงานบริหาร
แผนกบัญชี  มีหน้าที่ดังนี้
- ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน รายรับ-รายจ่ายของบริษัท
- ควบคุมยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
- ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และปิดงบการเงิน 
- เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
- ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้
ปัญหาของแผนกบัญชีคือ
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5. การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
แผนกบุคคล  มีหน้าที่ดังนี้
-การจัดสรรหา พนักงานเข้ามาทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์หรือแต่ละแผนก และการทำสัญญาการจ้างทำงานโดยยึดหลักนโยบายของบริษัทและความพึงพอใจของพนักงาน
-การบริหารค่าแรง สวัสดิการ ประกันสังคม  ภาษี
-ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในการปรับค่าจ้าง
-สรุปยอดการปฏิบัติงานของการบริหารงานบุคคลประจำปี
ปัญหาของแผนกบุคคลคือ
1. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
2. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
3. ไม่ทราบเวลาเข้า – ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
ฝ่ายปฎิบัติการ
แผนกงานขาย/การตลาด   มีหน้าที่ดังนี้
- วิเคราะห์  วางแผน   กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
- วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
- วิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์  และ เผยแพร่ โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
- วิเคราะห์ วางแผน กำหนดเป้าหมาย  และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่กำหนด
ปัญหาของแผนกขายคือ
1. เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2.ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
3. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

แผนกผลิตสินค้า มีหน้าที่ดังนี้

          มีหน้าที่ในการผลิตสินค้าตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อนำออกสู่ตลาด โดยมีจำนวนในการผลิตที่แน่นอนและต้องเป็นไปตามมาตรฐาน                
ปัญหาของแผนกผลิตสินค้าคือ
1.มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2.มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
3.มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
แผนกควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ในการรับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพและควบคุมมาตรฐานในการผลิต
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
1. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
3. สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
ปัญหาทั้งหมดของบริษัท
1.อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2.ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3.เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4.รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5.การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
6. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
7. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
8. ไม่ทราบเวลาเข้า – ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
9. เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็น
10.ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
11. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
12.มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
13.มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
14.มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
15. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
16. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
17. สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
ระบบการขาย
           หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตามเป้าหมาย ข้อมูลมีความแตกต่าง ซึ่งข้อมูลลูกค้าที่มาในแต่ละครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีแนวทางคือการพัฒนาระบบ

ระบบคลังสินค้า
           หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมแล้วระบบคลังสินค้า ก็จะประสบปัญหาในการจัดเก็บสินค้า โดยจะมาจากพื้นที่ในการจัดเก็บน้อย และเมื่อมีสินค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญหาในการจัดเก็บข้อมูลสินค้า เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลสินค้า เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็มีแนวทางเลือก คือการพัฒนาระบบเพื่อให้ตอบสนองต่อการทำงานมากขึ้น

ระบบผลิตสินค้า
           จากที่ได้วิเคระห์ระบบเดิมแล้ว ในระบบผลิตสินค้า ก็จะประสบปัญหาในการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่ กำหนดไว้โดยในการผลิตสินค้านั้นจะต้องควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ โดยจะพัฒนาจากระบบเพื่อให้ทำงานและมีการตรวจสอบ

ปัญหาของฝ่ายผลิต
1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
4.


การนำระบบมาพัฒนารวมกัน
             เป็นการนำระบบทั้ง3ระบบมามารวมกัน ทำให้เกิดเป็นระบบเดียวกัน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 


ผู้จัดทำ 






นางสาวปัทมา ทองนอก รหัสนักศึกษา 2571031441317
สาขาเทคโนโลสารสนเทศ




นางสาวรดาณัฐ  อ่อนนุ่ม รหัสนักศึกษา 2571031441319
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ


Arisa Pimsawat

นางสาวอาริสา  พิมพ์สวสัดิ์ รหัสนักศึกษา  2571031441343
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ